วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คำศัพท์ภาษา C


C
หมายถึง :
เป็นภาษาโปรแกรมภาษาหนึ่ง ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดย เดนนิสริทชี่ (Dennis Ritchie) ที่ Bell Laboratories เมื่อปี พ.ศ. 2515 ภาษา C แม้จะเป็นภาษาระดับสูง แต่ก็สามารถใช้เป็นภาษาเครื่องได้เป็นอย่างดี มันมีความเกี่ยวพันใกล้ชิดกับ ระบบการทำงานของ UNIX (UNIX operating system) ในปัจจุบันนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางและได้รับการรับรองมาตรฐานโดย ANSI (American Nation Standard Institute) แล้ว
C++
หมายถึง :
ภาษา C programming language รุ่นใหม่ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดย Bjarne Strousrup ณ ห้องปฏิบัติการ Bell Laboratories เมื่อต้นปี พ.ศ. 2523 ภาษา C เวอร์ชั่นนี้เป็นที่ยอมรับของนักผลิตโปรแกรมทั้งหลาย เช่น บริษัท Apple Computer และบริษัท Sun Microsystem เป็นต้น
cable
หมายถึง :
สายเคเบิล เป็นสายสื่อที่ใช้ต่อเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ชนิดต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ มีวัสดุห่อหุ้มสายเพื่อป้องกันความเสียหายและการรั่วไหล อุปกรณ์ต่างๆ ที่ต่อเชื่อมด้วยสายเคเบิล เช่น แป้นพิมพ์ (keyboard) เมาส์ (mouse) เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นต้น
cable connector
หมายถึง :
ได้แก่ ตัวต่อที่อยู่ตรงส่วนปลายสายเคเบิลทั้งสองข้าง
cache
หมายถึง :
ระบบย่อยของหน่วยความจำอย่างหนึ่งซึ่งใช้ค่าของข้อมูลบ่อยๆ จึงมีการคัดลอกข้อมูลเอาไว้ในนี้ เพื่อความสะดวกในการใช้ หน่วยความจำของ cache จะเก็บข้อมูลที่ใช้บ่อยๆ เข้าสู่ RAM ทั้งตำแหน่งและสังกัดที่เก็บข้อมูลอยู่ เมื่อการประมวลผลต้องการข้อมูลที่อยู่ ณ สังกัดนั้นๆ ในหน่อยความจะ cache ก็จะทำการตรวจสอบว่ามีข้อมูลที่ต้องการหรือไม่ ถ้ามีก็จะส่งข้อมูลไปยังหน่วยประมวลผลทันที ถ้าไม่มี cache ก็จะเข้าถึงหน่วยความจำตามปกติ เพื่อนำข้อมุลไปสู่การประมวลผล cache มีประโยชน์เมื่อการนำข้อมูลเข้าสู่ RAM ทำได้อย่างเชื่องช้า การนำเข้าสู่ cache มักทำได้รวดเร็วกว่า

_____________________________________________________
CAD
หมายถึง :
(อ่านว่า แคด) เป็นคำย่อของคำว่า computer-aided-design เป็นชื่อของโปรแกรมปฏิบัติการชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ในการออกแบบวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรือรูปแบบต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ แบบที่ออกโดย CAD จะเป็นสองหรือสามมิติ





calculator
หมายถึง :
เครื่องคิดเลข ในความหมายที่กว้างหมายถึง เครื่องมือที่ใช้สำหรับทำงานเกี่ยวกับตัวเลขและการคำนวณ
CAI
หมายถึง :
คำย่อของคำว่า computer-aided หรือ computer-as-sisted instruction เป็นโปรแกรมการศึกษาโปรแกรมหนึ่งที่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์การสอนได้ สามารถใช้โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมฝึกหัด โปรแกรมถาม-ตอบ หรือเป็นโปรแกรมสอนหัวข้อต่างๆ และใช้เป็นโปรแกรมทดสอบความรู้ของนักเรียนได้
call
หมายถึง :
การถ่ายทอดโปรแกรมการควบคุมงานไปยังส่วนหนึ่งส่วนใดของรหัสในขณะที่กลังเก็บรักษา (save) สารสนเทศที่จำเป็น เพื่อให้การควบคุมการทำงานกลับมายังจุดที่เรียก
CAM
หมายถึง :
(อ่านว่า แคม) เป็นคำย่อของ computer-aided manu-facturing หมายถึงการใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมงานผลิตผลิตภัณฑ์อย่างอัตโนมัติ ดูเพิ่มเติม CAD/CAM
capacity
หมายถึง :
สมรรถนะ ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงปริมาณของสารสนเทศซึ่งคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลสามารถประมวลผล หรือเก็บไว้ได้ เช่น แผ่นดิสก์สามารถเก็บตัวอักษรได้จำนวนกี่ไบต์ นั่นเป็นสมรรถนะ (capacity) ของแผ่นดิสก์นั้น
Caps Lock key
หมายถึง :
แป้นคีย์บนแป้นพิมพ์ ซึ่งเมื่อกดแป้นนี้แล้ว อักษรภาษาอังกฤษที่พิมพ์จะเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ (capital letter) เมื่อปล่อยก็จะกลับมาเป็นตัวอักษรพิมพ์เล็กตามปกติ ส่วนแป้นพิมพ์ภาษาไทย เมื่อกดแป้นนี้จะเป้นตัวอักษรบน
card
หมายถึง :
การ์ด หมายถึง แผ่นวงจรซึ่งพิมพ์สำเร็จ หรือหมายถึง adapter ซึ่งสามารถนำมาเสียบต่อเชื่อมโยงเข้ากับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งเพิ่มขึ้นได้
carrier
หมายถึง :
พาหะ ใช้ในการสื่อสาร เป็นสิ่งที่ใช้นำหรือพาเอาสารสนเทศไปยังผู้บริโภค; หรือหมายถึงบริษัท หรือองค์การธุรกิจ ที่ทำหน้าที่จัดหาโทรศัพท์และเคื่องมือสื่อสารอื่นๆ เพื่อให้บริการแก่ผู้บริโภค
carrier system
หมายถึง :
ระบบการสื่อสาร เป็นวิธีการสื่อสารซึ่งใช้ความถี่ต่างๆ กัน เพื่อส่งผ่านหรือถ่ายทอดสารสนเทศไปตามช่องสัญญานการสื่อสารแต่ละช่อง
cartridge
หมายถึง :
กล่อง, ตลับ มักใช้ กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น กล่องดิสก์ (disk cartridge) กล่องหน่วยความจำ (memory cartridge) กล่องโทนเนอร์ (toner cartridge) กล่องริบบอน (ribbon cartridge) เป็นต้น
cassette tape
หมายถึง :
เทปแบบตลับ ที่เรามักเรียกว่า เทปคาสเส็ท
CAT
หมายถึง :
ดู computer-assisted teaching
catalog
หมายถึง :
รายการของแหล่งข้อมูล ในทางคอมพิวเตอร์ หมายถึงรายการของสารสนเทศต่างๆ เช่น ชื่อ แบบหรือชนิด ตำแหน่งที่อยู่หรือสังกัด และความยาวของเนื้อเรื่องเป็นต้น
cathode
หมายถึง :
ขั้วไฟฟ้าซึ่งมีประจุไฟฟ้าลบ อิเล็กตรอนจะไหลจากขั่วลบไปยังขั้วบวก (anode) ตามปกตินำมาใช้หมายถึง ขั้วที่ปล่อยกระแสอิเล็กตรอนของกระแสไฟฟ้า
cathode-ray tube
หมายถึง :
ดู CRT
CBT
หมายถึง :
คำย่อของ computer-based training หมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมซึ่งทำขึ้นพิเศษเพื่อสอน
CD
หมายถึง :
คำย่อของ Carrier Detect เป็นสัญญานที่ส่งมาจากโมเด็ม ซึ่งเสียบต่อเชื่อมโยงอยู่กับคอมพิวเตอร์ เพื่อแสดงให้เห็นว่าโมเด็มนั้นกำลังอยู่ในสาย



CD-I
หมายถึง :
อ่านว่า ซีดีไอ คำย่อของ compact disc-interactive ได้แก่ฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ ซึ่งอยู่ในรูปของเทคโนโลยีทางแสง เช่น เลเซอร์ดิสก์ ซึ่งสามารถรวมเสียง วีดีโอ และคำอธิบายเข้าด้วยกัน และเก็บไว้ในคอมแพคดิสก์ที่มีสมรรถณะสูง CD-I มีความหมายรวมถึง กิจลักษณ์ (feature) การแสดงรูปภาพ, การแสดงภาพเคลื่อนไหว (animation) เครื่องเสียง และ เอฟเฟค (effect) ต่างๆ ด้วย
CD-Rom
หมายถึง :
อ่านว่า ซีดีรอม เป็นคำย่อของ compact disc read-only memory เป็นคลังข้อมูลแบบหนึ่ง ซึ่งมีสมรรถณะสูง (ประมาณ 600 เมกะไบต์) และใช้ laser optics แทนการใช้แม่เหล็กเป็นสื่อในการอ่านข้อมูล
CD-ROM drive
หมายถึง :
เครื่องมือเก็บแผ่นดิสก์ ซึ่งใช้เทคโนโลยีของคอมแพคดิสก์ (compact disc)
cell
หมายถึง :
ในโปรแกรม spreadsheet หมายถึงจุดตัดกันระหว่างแถว (row) กับคอลัมน์ (column) แถวแทนด้วย ตัวเลข 1, 2, 3... ดังนั้นเซล (cell) จะแทนด้วยชื่อคอลัมน์ และแถวชื่อ เช่น B5, C12 หมายความว่า เซล ที่เกิดจากจุดตัดกันของคอลัมน์ B กับแถว (บรรทัด) ที่ 5 และเซลที่เกิดจากคอลัมน์ C ตัดกับแถว (บรรทัด) ที่ 12 เป็นต้น
central processing unit
หมายถึง :
มักใช้อักษรย่อว่า CPU หน่วยประมวลผลกลาง ซึ่งประกอบด้วย หน่วยคำนวณและตรรกะ (arithmetic and logic unit) หรือ ALU หน่วยควบคุม (control unit) และคลังข้อมูลปฐมภูมิ (primary storage unit)
CGA
หมายถึง :
เป็นคำย่อของ Color/Graphics Adapter คือวีดีโออะแดฟเตอร์บอร์ดชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตออกจำหน่ายโดย IBM เมื่อปี พ.ศ. 2524 CGA มีความสามารถทำงานด้านภาพและตัวอักษรจาก 40-80 ตัวอักษรใน 1 คอลัมน์ และ 25 บรรทัด จากบนมาล่าง ประกอบไปด้วยสี 16 สี สร้างภาพกราฟฟิกได้ตามแนวนอน 640 pixel และแนวตั้ง 200 pixel 2 สี หรือ 320 pixel ตามแนวนอน และ 200 pixel ตามแนวตั้ง 4 สี
channel
หมายถึง :
ช่อง, ช่องการสื่อสารระหว่างเครื่องอุปกรณ์สองเครื่อง บางทีเรียกว่า communication channel
character
หมายถึง :
ตัวหนังสือ หมายถึงตัวอักษร ตัวเลข เครื่องหมายต่างๆ ที่ใช้ในภาษา เครื่องหมายวรรคตอน รวมทั้งสัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใดๆ ที่ใช้เป็นรหัสเพื่อควบคุมคอมพิวเตอร์ด้วย
character per inch
หมายถึง :
มักใช้คำย่อว่า cpi เป็นหน่วยการวัดขนาดของตัวอักษรอย่างหนึ่ง หมายถึง ในความยาว 1 นิ้ว มีตัวอักษรบรรจุลงไปได้กี่ตัว การกำหนดในลักษณะนี้ ก่อให้เกิดลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ ขนาดของป้อยนท์ และความกว้างของตัวอักษร
character per second
หมายถึง :
ใช้คำย่อว่า cps การวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์ที่ไม่ใช่เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ เช่น dotmatrix printer หรือ ink-jet printer เป็นต้น หรือวัดความเร็วในการถ่ายทอดข้อมูล เช่น ความเร็วของ disk drive เป็นต้น
chassis
หมายถึง :
(อ่านว่า คัสซีส์) กรอบโลหะซึ่งใช้เป็นฐานรองรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเลกทรอนิกใดๆ; เครื่องล่าง
chip
หมายถึง :
คำย่อของคำว่า microchip ดูเพิ่มเติม integrated circuit
circuit
หมายถึง :
วงจร
circuit board
หมายถึง :
แผงวงจร
circuit breaker
หมายถึง :
สวิตช์ซึ่งทำไว้สำหรับปิด-เปิด เพื่อตัดกระแสไฟฟ้า เมื่อกระแสไฟฟ้ามีปริมาณมากเกินกว่าระดับที่กำหนดไว้
circuit switching
หมายถึง :
วิธีการเปิดสายการสื่อสารอย่างหนึ่ง โดยการต่อพ่วงวงจรอื่นๆ เข้ากับวงจรหลัก เช่น การต่อสายโทรศัพท์ เป็นต้น
click
หมายถึง :
คลิก การกดและปล่อยปุ่มที่เมาส์ครั้งหนึ่ง โดยไม่ต้องขยับเมาส์ การกดเมาส์เป็นการกระตุ้นโปรแกรมให้ทำงาน ถ้ากดสองครั้งติดๆ กันเรียกว่า double click
clip art
หมายถึง :
คลิปอาร์ต แหล่งรวบรวมภาพ แผนภูมิ แผนที่ ไดอะแกรม ภาพถ่าย ภาพลายเส้นต่างๆ อาจเป็นลักษณะของหนังสือเป็นเล่มๆ หรือแฟ้มข้อมูลในคอมพิวเตอร์ก็ได้
clipboard
หมายถึง :
หน่วยความจำอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในความควบคุมของระบบทำงาน (operating system) เช่น Microsoft Windows ใน OS/2 หรือใน Apple Macintosh operating system คลิพบอร์ด ใช้เป็นที่เก็บสำเนาของสารสนเทศสุดท้ายที่ถูกทำสำเนา ลบ หรือตัด (paste) เอาไว้ สิ่งที่ก็บไว้ในคลิพบอร์ดสามารถถ่ายทอดไปสู่โปรแกรมอื่นได้
clock
หมายถึง :
นาฬิกา เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ นาฬิกาจะเดินอยู่ตลอดเวลา แม้เวลาเครื่องปิด
clock/calendar
หมายถึง :
เครื่องบอกเวลา บอก วัน เดือน ปีอัตโนมัติ อยู่ในวงจรคอมพิวเตอร์ บอกเวลา และวัน เดือน ปี อย่างถูกต้อง
clone
หมายถึง :
สำเนา หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้นให้เหมือนกับของเดิม หรือเหมือนกับต้นฉบับ หรือต้นแบบ นำมาใช้ในไมโครคอมพิวเตอร์ หมายถึงคอมพิวเตอร์ที่ทำขึ้นให้เหมือนต้นแบบ เช่น IBM clone คือคอมพิวเตอร์อื่นที่ทำขึ้นให้มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมือนคอมพิวเตอร์ IBM
closed file
หมายถึง :
แฟ้มข้อมูลที่ปิดอยู่ แฟ้มข้อมูลที่ไม่ได้นำมาใช้ปฏิบัติการใดๆ
coaxial cable
หมายถึง :
สายเคเบิลชนิดหนึ่งซึ่งมีตัวนำสองสายซ้อนกันอยู่เป็นสองชั้น สายหนึ่งอยู่ตรงศูนย์กลางมีฉนวนหุ้ม สายที่สองอยู่รอบๆ สายที่1 และมีฉนวนหุ้ม อีกชั้นหนึ่ง
COBOL
หมายถึง :
เป็นคำย่อของคำว่า Common Business Oriented Language เป็นภาษาระดับสูงภาษาหนึ่ง พัฒนาขึ้นมาราวๆ ระหว่างปี พ.ศ.2502-2504 มีลักษณะของภาษาคล้ายประโยคภาษาอังกฤษ นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง
code
หมายถึง :
รหัส เป็นโปรแกรมคำสั่ง รหัส อาจเป็นชนิดที่คนอ่านได้ ซึ่งเขียนขึ้นโดยนักเขียนโปรแกรม และรหัสอีกชนิดหนึ่งสำหรับเคื่องคอมพิวเตอร์อ่าน


color
หมายถึง :
สี ในวิชาฟิสิกส์ สี หมายถึง คลื่นแสงซึ่งมีความยาวคลื่นแตกต่างกัน เมื่อกระทบกับสายตา ทำให้สายตาตอบสนองต่อขนาดความยาวคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แตกต่างกัน แล้วแปลความหมายออกมาเป็นสีที่แตกต่างกัน โดยเริ่มตั้งแต่ขนาดความยาว คลื่นสั้นมาก ตาแลเห็นเป็นสีม่วง และแลเห็นสีแดงเป็นสีสุดท้ายในช่วงคลื่นแสง สีที่เห็นจะเรียงตามลำดับดังนี้คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม และแดง






CAD/CAM

การแสดงผลทางหน้าจอ

                                                        การแสดงผลออกทางหน้าจอ
          การทำงานพื้นฐานที่สึดหรือเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งในการทำงานของทุกโปรแกรมคือ  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอภาพ  โดยในภาษา C  นั้น  การแสดงผลข้อมูลออกทางจอสามารถทำได้ดังนี้
คำสั่ง printf
          คำสั่ง printf  ถือได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่สุดในการแสดงผลข้อมูลทุกชนิดออกทางหน้าจอไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม int ทศนิยม float ข้อความ string  หรืออักขระ  นอกจากนี้คำสั่งยังมีความยืดหยุ่นสูง  โดยเราสามารถกำหนดหรือจัดรูปแบบการแสดงผลให้มีระเบียบหรือเหมาะสมตามความต้องการได้อีกด้วย 
รูปแบบคำสั่ง prinft
printf ("format",variable);
format
     ข้อมูลที่ต้องการแสดงผลออกทางหน้าจอ  โดยข้อมูลนี้ต้องเขียนไว้ในเครื่องหมาย "  "  ข้อมูลที่สามารถแสดงผลได้มีอยู่ 2 ประเภท คือ  ข้อความธรรมดา  และค่าที่เก็บไว้ในตัวแปร  ซึ่งถ้าเป็นค่าที่เก็บไว้ในตัวแปรต้องใส่รหัสควบคุมรูปแบบให้ตรงกับชนิดของข้อมูลที่เก็บไว้ในตัวแปรนั้นด้วย
variable
     ตัวแปรหรือนิพจน์ที่ต้องการนำค่าไปแสดงผลให้ตรงกับรหัสควบคุมรูปแบบที่กำหนดไว้


รหัสควบคุมรูปแบบการแสดงผลค่าของตัวแปรออกทางหน้าจอ  แสดงได้ดังนี้
รหัสควบคุมรูปแบบ
การนำไปใช้งาน
%d
แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็ม
%u
แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนเต็มบวก
%f
แสดงผลค่าของตัวแปรชนิดจำนวนทศนิยม
%c
แสดงผลอักขระ 1 ตัว
%s
แสดงผลข้อความ หรืออักขระมากกว่า 1 ตัว
  การนำอักขระควบคุมการแสดงผลมาใช้  เราต้องเขียนอักขระควบคุมการแสดงผลไว้ภายในเครื่องหมาย "  "  ดังตัวอย่าง
printf("Hello ... \n"); แสดงข้อความ Hello ...  แล้วขึ้นบรรทัดใหม่
printf("Hello...\nLampang\n");แสดงข้อความ Hello ...แล้วขึ้นบรรทัดใหม่พร้อมกับแสดงข้อความLampang จากนั้นขึ้นบรรทัดใหม่อีกครั้ง
printf("Num1 = %d\tNum2 = %f\n",x,z);แสดงข้อความ Num1 = 45  ตามด้วยการเว้นช่องว่าง 1 แท็บแล้วต่อด้วยข้อความ Num2 = 20.153

 
คำสั่งรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด
          การทำงานของโปรแกรมส่วนใหญ่มักจะเป้นการเชื่อมโยงกับผู้ใช้แบบ  2  ทิศทาง  คือ  ทั้งภาคของการแสดงผลการทำงานออกทางหน้าจอ  และภาคของการรับข้อมูลจากผู้ใช้เข้ามาทางคีย์บอร์ด  เพื่อร่วมในการประมวลผลของโปรแกรม 
 
#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
   clrscr();
   prinft('Lampang Kunlayanee School\n");
   printf("Program C\n");
getch();
}
ผลลัพธ์โปรแกรม
Lampang Kunlayanee School
Program C
    ส่วนตัวอย่างการใช้คำสั่ง  printf  แสดงผลจากค่าของตัวแปรหรือนิพจน์ การคำนวณออกทางหน้าจอ  แสดงได้ดังนี้  โดยกำหนดให้
ตัวแปร  x  เก็บจำนวนเต็ม  45
printf("total value = %d",x);   แสดงข้อความ total value = 45 ออกทางจอภาพ

แสดงผลให้เป็นระเบียบด้วยอักขระควบคุมการแสดงผล
          นอกจากนี้เรายังสามารถจัดรูปแบบการแสดงผลให้ดูเป็นระเบียบมากขึ้น  อย่างเช่นขึ้นบรรทัดใหม่  หลังแสดงข้อความ  หรือเว้นระยะแท็บระหว่างข้อความ  โดยใช้อักขระควบคุมการแสดงผลร่วมกับคำสั่ง printf
อักขระควบคุมการแสดงผล
ความหมาย
\n
ขึ้นบรรทัดใหม่
\t
เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 แท็บ (6 ตัวอักษร)
\r
กำหนดให้เคอร์เซอร์ไปอยู่ต้นบรรทัด
\f
เว้นช่องว่างเป็นระยะ 1 หน้าจอ
\b
ลบอักขระสุดท้ายออก 1 ตัว

  การนำอักขระควบคุมการแสดงผลมาใช้  เราต้องเขียนอักขระควบคุมการแสดงผลไว้ภายในเครื่องหมาย "  "  ดังตัวอย่าง
printf("Hello ... \n"); แสดงข้อความ Hello ...  แล้วขึ้นบรรทัดใหม่
printf("Hello...\nLampang\n");แสดงข้อความ Hello ...แล้วขึ้นบรรทัดใหม่พร้อมกับแสดงข้อความLampang จากนั้นขึ้นบรรทัดใหม่อีกครั้ง
printf("Num1 = %d\tNum2 = %f\n",x,z);แสดงข้อความ Num1 = 45  ตามด้วยการเว้นช่องว่าง 1 แท็บแล้วต่อด้วยข้อความ Num2 = 20.153

คำสั่งรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด
          การทำงานของโปรแกรมส่วนใหญ่มักจะเป้นการเชื่อมโยงกับผู้ใช้แบบ  2  ทิศทาง  คือ  ทั้งภาคของการแสดงผลการทำงานออกทางหน้าจอ  และภาคของการรับข้อมูลจากผู้ใช้เข้ามาทางคีย์บอร์ด  เพื่อร่วมในการประมวลผลของโปรแกรม 
คำสั่ง  scanf()
          ในภาษา C  การรับข้อมูลจากคีย์บอร์ดสามารถทำได้โดยการเรียกใช้ฟังก์ชัน  scanf()  ซึ่งเป็นฟังก์ชันมาตรฐานสำหรับรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด  โดยสามารถรับข้อมูลได้ทุกประเภท  ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเต็ม  ทศนิยม  อักขระ หรือข้อความ 
รูปแบบคำสั่ง  scanf()
scanf("format",&variable);
format
     การใช้รหัสควบคุมรูปแบบ  เพื่อกำหนดชนิดของข้อมูลที่จะรับเข้ามาจากคีย์บอร์ด โดยรหัสควบคุมรูปแบบใช้ชุดเดียวกับคำสั่ง printf()
variable
     ตัวแปรที่จะใช้เก็บค่าข้อมูลที่รับเข้ามาจากคีย์บอร์ด  โดยชนิดของตัวแปรจะต้องตรงกับรหัสควบคุมรูปแบบที่กำหนดไว้  นอกจากนี้หน้าชื่อของตัวแปรจะต้องนำหน้าด้วยเครื่องหมาย  &  ยกเว้นตัวแปรสตริง  สำหรับเก็บข้อความเท่านั้นที่ไม่ต้องนำหน้าด้วยเครื่องหมาย &

ตัวอย่างการใช้งานคำสั่ง  scanf()  เพื่อรับข้อมูลจากคีย์บอร์ด
int speed; สร้างตัวแปรชนิด int สำหรับเก็บค่าตัวเลขจำนวนเต็ม
printf("Enter wind speef : "); แสดงข้อความให้กรอกค่าความเร็วลมเป็นจำนวนเต็ม
scanf("%d",&speed);รับค่าความเร็วลมเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร speed

char answer;สร้างตัวแปรชนิด  char สำหรับเก็บอักขระ
printf("Enter Figure (Y : N)  : ") แสดงข้อความให้ป้อนอักขระ Y  หรือ N
scanf("%c",&answerรับอักขระเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร  answer
char name[10]; สร้างตัวแปรสตริงสำหรับเก็บข้อความ
printf("Enter your name = "); แสดงข้อความให้ป้อนชื่อ
scanf("%s",nameรับชื่อเข้ามาเก็บไว้ในตัวแปร name สังเกตจะไม่ใส่เครื่องหมาย & ตัวแปรชนิดข้อความ

#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
  clrscr();
  int x,y,sum;
  printf("Enter The Length is : ");
  scanf ("%d",&x);
  printf("Enter The Width is : ");
  scanf ("%d",&y);
  sum = x*y;
  printf("The area is :%d",sum);
getch();
}
ผลลัพธ์โปรแกรม
Enter The Length is   : 15
Enter The Width is     : 5
The area is             : 75
การเขียนโปรแกรมคำนวณื     เราสามารถคำนวณหาผลลัพทธ์ของนิพจน์คณิตศาสตร์ด้วยการเขียนโปรแกรมภาษาซี   ตัวอย่างต่อไปนี้เป็นการแสดงลำดับการประมวลผลทางคณิตศาสตร์ของนิพจน์ต่าง ๆ
  10+2*8/4*3-5=17
ตัวอย่างโปรแกรมคำนวณหาผลลัพธ์จากการหาร
#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
clrscr();
int a,b;
float c;
a=20;
b=6;
c=6;
printf("20/6 =%d\n",a/b);      /*หารเอาเฉพาะส่วน*/
printf("20%6 =%d\n",a%b); /*หารเอาเฉพาะเศษ*/
printf("20/6 =%f\n",a/c);       /*หารเอาทั้งเศษและส่วน*/
printf("20/6 =%.2f\n",a/c);   /*แสดงผลทศนิยม  2 ตำแหน่ง*/
  getch();
}
ผลลัพธ์โปรแกรม
20/6=3
20%6=2
20/6=3.333333
20/6=3.33

#include <stdio.h>
#include <conio.h>
void main()
{
  clrscr();
  int a,b,c,d;
  a=(3+4)*5;
  b=3+4*5;
  c=(2+7)*4%10;
  d=2+7*4%10;
  e=10+2*8/4*3-5;
  printf("(3+4)*5 =%d\n",a);
  printf("3+4*5 =%d\n",b);
  printf("(2+7)*4%10 =%d\n",c);
  printf("(2+7)*4%10 =%d\n",d);
  printf("10+2*8/4*3-5 =%d\n",e);
  getch();
}
ผลลัพธ์โปรแกรม
  (3+4)*5=35
  3+4*5=23
  (2+7)*4%10=6
  2+7*4%10=10
  10+2*8/4*3-5=17

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

วิธีใช้งานโปรแกรม Microsoft EXCEL 2007
หน่วยที่ 2 ส่วนประกอบของโปรแกรม Excel 2007
หน่วยที่ 3 หลักการพื้นฐานในการใช้โปรแกรม Excel 2007





หน่วยที่ 4 การคำนวณโดยใช้สูตรและวางฟังก์ชัน
ทุกหน้า

หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรม Microsoft Excel 2007
โปรแกรม Excel เป็นโปรแกรมที่อำนวยความสะดวกในการทำงานเกี่ยวกับการพิมพ์ งานตาราง การคำนวณข้อมูล และฐานข้อมูล   Excel 2007 มีส่วนติดต่อผู้ใช้โฉมใหม่ มีแม่แบบใหม่ แถบเครื่องมือต่าง ๆ และมีคุณลักษณะใหม่ที่สามารถสร้างประสิทธิผลงานได้อย่างรวดเร็ว Excel 2007 ทำให้เราสามารถเริ่มใช้งานส่วนติดต่อผู้ใช้โฉมใหม่ แม่แบบใหม่ และ คุณลักษณะใหม่ที่สามารถสร้างประสิทธิผลได้อย่างรวดเร็ว
1. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโปรแกรมตารางงาน (Microsoft Excel)
1.1 ลักษณะทั่วไปของโปรแกรม Excel
โปรแกรมตารางงาน หรือโปรแกรมสเปรดชีต (Spread Sheet) หรือตารางคำนวณ อิเล็กทรอนิกส์ เป็นโปรแกรมที่อำนวยความสะดวกในการทำงานเกี่ยวกับการคำนวณข้อมูล แสดง ข้อมูลในลักษณะเป็นคอลัมน์ หรือเป็นช่องตาราง ซึ่งเราสามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ โดยส่วนมาก มักจะเป็นตัวเลขลงในตารางสี่เหลี่ยมที่แบ่งออกเป็นช่องเล็ก ๆ มากมาย เรียกว่า เซลล์ (Cell) พร้อม ทั้งสามารถใส่สูตรลงในเซลล์บางเซลล์เพื่อให้โปรแกรมทำการคำนวณหาผลลัพธ์จากข้อมูลที่
โปรแกรม Excel ช่วยให้เราคำนวณตัวเลขในตารางได้ง่าย ๆ ตั้งแต่คณิตศาสตร์ขั้น พื้นฐานไปจนถึงสูตรทางการเงินที่ซับซ้อน และเรายังสามารถใช้ Excel ในการจัดกลุ่มข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สร้างรายงาน และสร้างแผนภูมิได้อีกด้วย
โปรแกรม Excel มีประโยชน์กับผู้คนแทบทุกสาขาอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นบัญชี ซึ่ง สามารถนำ Excel มาช่วยคำนวณรายรับรายจ่ายและงบการเงินได้ นักวิเคราะห์การตลาด ที่จะนำ Excel มาช่วยในการสรุปข้อมูลแบบสอบถามจำนวนมาก ๆ วิศวกรที่สามารถนำข้อมูลจากการ ทดลองมาให้ Excel สร้างเป็นแผนภูมิลงในรายงานของตนเองได้ง่าย ๆ นักวางแผนสามารถทดลอง ได้ว่าจะเกิดเหตุการณ์อะไรถ้าตัวแปรบางตัวเปลี่ยนไป แม้กระทั่งครูอาจารย์ก็ยังสามารถคำนวณ เกรดของนักศึกษาได้ด้วย และนอกจากที่กล่าวแล้ว Excel ก็ยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานอื่น ๆ ได้ อีกมากมาย
1.2 คุณสมบัติของโปรแกรม Excel
โปรแกรม Excel มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1.สร้างและแสดงรายงานของข้อมูล ตัวอักษร และตัวเลข โดยมีความสามารถในการ
จัดรูปแบบให้สวยงามน่าอ่าน เช่น การกำหนดสีพื้น การใส่แรเงา การกำหนดลักษณะและสีของ
เส้นตาราง การจัดวางตำแหน่งของตัวอักษร การกำหนดรูปแบบและสีตัวอักษร เป็นต้น
2.อำนวยความสะดวกในด้านการคำนวณต่าง ๆ เช่น การบวก ลบ คูณ หารตัวเลข
และยังมีฟังก์ชั่นที่ใช้ในการคำนวณอีกมากมาย เข่น การหาผลรวมของตัวเลขจำนวนมาก การหา
ค่าทางสถิติและการเงิน การหาผลลัพธ์ของโจทย์ทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
3.สร้างแผนภูมิ (Chart) ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการแสดงและการเปรียบเทียบ
ข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น แผนภูมิคอลัมน์ (Column Chart หรือBar Chart) แผนภูมิเส้น (Line
Chart) แผนภูมิวงกลม (Pie Chart) ฯลฯ
4.มีระบบขอความช่วยเหลือ (Help) ที่จะคอยช่วยให้คำแนะนำ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถ
ทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม หรือสงสัย
เกี่ยวกับวิธีการใช้งาน แทนที่จะต้องเปิดหาในหนังสือคู่มือการใช้งานของโปรแกรม ก็สามารถขอ
ความช่วยเหลือจากโปรแกรมได้ทันที
5.มีความสามารถในการค้นหาและแทนที่ข้อมูล โดยโปรแกรมจะต้องมี
ความสามารถในการค้นหาและแทนที่ข้อมูล เพื่อทำการแก้ไขหรือทำการแทนที่ข้อมูลได้สะดวก
และรวดเร็ว
6. มีความสามารถในการจัดเรียงลำดับข้อมูล โดยเรียงแบบตามลำดับ จาก A ไป Z หรือจาก 1 ไป 100 และเรียงย้อนกลับจาก Z ไปหา A หรือจาก 100 ไปหา 1
7. มีความสามารถในการจัดการข้อมูลและฐานข้อมูล ซึ่งเป็นกลุ่มของข้อมูลข่าวสาร ที่ถูกรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันในตารางที่อยู่ใน Worksheet ลักษณะของการเก็บข้อมูลเพื่อใช้เป็น ฐานข้อมูลมนโปรแกรมตารางงานจะเก็บข้อมูลในรูปแบบของตาราง โดยแต่ละแถวของรายการจะ เป็นระเบียนหรือเรคอร์ด (Record) และคอลัมน์จะเป็นฟิลด์ (Field)
2. ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ปรับปรุงใหม่ของ Excel 2007
Excel 2007 ใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ออกแบบมาใหม่ เพื่อช่วยให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น มี ประสิทธิผลมากขึ้น สามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้นและค้นหาได้เร็วขึ้น ส่วนติดต่อใหม่นี้ ได้แก่ แม่แบบ ใหม่ ใช้เริ่มต้นทำงานอย่างรวดเร็ว และการใช้พื้นที่มาตรฐานซึ่งเรียกว่า Ribbon แทนเลเยอร์ (Layers) ของเมนูและแถบเครื่องมือที่พบในรุ่นก่อนหน้านี้ ทำให้สามารถหากลุ่มของคำสั่งที่ เกี่ยวข้องกันได้เร็วขึ้น เนื่องจากแท็บที่ใช้ในนั้น จะวางคำสั่งต่าง ๆ ไว้ในส่วนหน้าโดยที่ไม่ได้เรียง ซ้อนลงในเมนูเหมือนก่อน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาค้นหา และสามารถจดจำตำแหน่งคำสั่งได้ดีขึ้น
องค์ประกอบที่สำคัญของส่วนติดต่อใหม่ใน Excel 2007 ประกอบด้วย
2.1 แม่แบบใหม่
แม่แบบใหม่จากเมนูเริ่ม (Start) สร้างเอกสาร Microsoft Office จะเปิดหน้าต่าง แม่แบบใหม่ หรือใช้แม่แบบ Microsoft Office Online จากปุ่ม Office ที่รายการสร้าง แล้วไปที่ ติดตั้ง แม่แบบของฉัน แม่แบบ Microsoft Office Online ซึ่งมีหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ เด่น งบประมาณ ปฏิทิน รายงานค่าใช้จ่าย ใบแจ้งหนี้ รายการ แผน แพลนเนอร์ กำหนดการ ประกาศ สเตชันเนอรี ใบ บันทึกเวลา ฯลฯ หรือจะไปที่เว็บไซต์ของ Microsoft Office แล้วดาวน์โหลดมาเก็บไว้ในเครื่องก็ได้
แม่แบบแต่ละแบบ ได้ถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้ทันทีที่เลือก เพื่อให้สามารถ เริ่มต้นและทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถ้าการออกแบบแม่แบบนั้นตรงกับความต้องการของผู้ใช้ หรือจะ นำมาปรับปรุงประยุกต์ใช้ให้ตรงกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของผู้ใช้ก็ได้


วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประกอบของหน้าต่างโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด คือส่วนต่าง ๆ ที่ปรากฎอยู่บนหน้าจอ
ทั้งส่วนที่แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมและส่วนที่เรียกใช้งาน
แถบชื่อ (Title Bar : ไตเติ้ลบาร์)
เป็นแถบสีน้ำเงินอยู่บนสุดของหน้าต่าง ทางด้านซ้่ายประกอบด้วยสัญลักษณ์ของโปรแกรม (คอนโทรลเมนู) ชื่อแฟ้มข้อมูล
ที่กำลังเปิดใช้่งานอยู่ ชื่อโปรแกรม ส่วนด้านขวามือเป็นปุ่มควบคุมหน้าต่าง 3 ปุ่ม
ได้แก่ ปุ่มมินิไมซ์, ปุ่มรีสโตร์ ดาวน์ หรือ
ปุ่มแมกซิไมซ์ (ขึ้นอยู่กับสถานะของหน้าต่างขณะใช้งาน) และ ปุ่มปิดโปรแกรม
 
แถบคำสั่ง (Menu Bar : เมนูบาร์)
แถบที่สองรองจากไตเติ้ลบาร์ เป็นแถบที่ใช้แสดงรายชื่อคำสั่งต่าง ๆ เพื่อให้เราเลือกใช้สำหรับทำงานในโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด  
 แถบเครื่องมือ (Toolbars : ทูลบาร์)
แถบที่มีรูปสัญลักษณ์แทนคำสั่งต่าง ๆ ที่เรียกใช้งานบ่อย ๆ ซึ่งแถบเครื่องมือหลักที่ใช้ประจำมี 3 ชนิด คือ
1. แถบเครื่องมือมาตรฐาน (
Standard toolbars : แสตนดาร์ดทูลบาร์) ประกอบด้วยปุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแฟ้มข้อมูล
เช่น การสร้าง การเปิดแฟ้มข้อมูล การบันทึกแฟ้มข้อมูล การสำเนาข้อความ เป็นต้น
2. แถบเครื่องมือจัดรูปแบบ (
Formatting toolbars : ฟอร์แมตติ้งทูลบาร์) ประกอบด้วยปุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจัดรูปแบบ
ให้กับตัวอักษร ข้อความ ย่อหน้า เช่น เปลี่ยนขนาดตัวอักษร ทำตัวเอียง ตัวหนา การจัดวางตัวอักษร เป็นต้น
 
3. แถบเครื่องมือรูปวาด (
Drawing toolbars : ดรอว์อิ้งทูลบาร์) ใช้สำหรับสร้่างและจัดการรูปวาด
การเรียกใช้แถบเครื่องมือสามารถเรียกได้ที่คำสั่งมุมมองบนเมนูบาร์ โดยการคลิกที่คำสั่งมุมมองและคลิกคำสั่งย่อย "แถบเครื่องมือ"
เลือกแถบเครื่องมือที่ต้องการให้แสดง จะปรากฎเครื่องหมาย
 √ หน้าชื่อเครื่องมือนั้น
ไม้บรรทัด (Ruler : รูเลอร์)
เป็นส่วนที่บอกขอบเขตพื้นที่ในการพิมพ์ ไม้บรรทัดจะมีเฉพาะด้านบนของหน้าจอ (ในมุมมองปกติ) แต่จะมีอยู่ที่ด้านบนและด้านซ้าย
ของหน้าจอ (ในมุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์)
ไม้บรรทัดด้านบน จะมีรูปสามเหลี่ยมเล็ก ๆ ที่ด้านซ้ายสุดและขวาสุด ใช้สำหรับย่อหน้าข้อความและปรับพื้นที่ในการพิมพ์ ตามลำดับ
การเรียกใช้ไม้บรรทัดสามารถเรียกได้ที่คำสั่งมุมมองบนเมนูบาร์ โดยการคลิกที่คำสั่งมุมมอง และคลิกที่คำสั่งย่อย "ไม้บรรทัด"
มุมมอง (View : วิว)
เป็นสัญลักษณ์รูปแบบพื้นที่ทำงานลักษณะต่าง ๆ อยู่ทางซ้ายมือของแถบเลื่อนแนวนอน ใช้เลือกรูปแบบของพื้นที่ทำงาน ได้แก่ มุมมองปกติ มุมมองเค้าโครงเว็บ มุมมองเค้าโครงเหมือนพิมพ์ มุมมองเค้าร่าง
และ มุมมองเค้าโครงการอ่าน
การเลือกมุมมองของพื้นที่ทำงาน สามารถเลือกได้ที่คำสั่งมุมมองบนเมนูบาร์ และที่สัญลักษณ์คำสั่งมุมมอง
  แถบเลื่อน (Scroll Bar : ซโครลบาร์)
เป็นแถบใช้เลื่อนดูข้อความที่ซ่อนอยู่ในหน้าต่าง ด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้าย และด้านขวา แถบเลื่อนจะปรากฎอยู่ที่ด้านขวาและด้านล่างของหน้าจอ แถบเลื่อนมีลักษณะการใช้งานตามตำแหน่งที่อยู่ดังนี้
·         แถบเลื่อนแนวนอน ใช้่เมื่อต้องการเลื่อนดูข้อความที่ซ่อนอยู่ทางซ้ายหรือทางขวาของหน้าจอ
·         แถบเลื่อนแนวตั้ง ใช้่เมื่อต้องการเลื่อนดูข้อความที่ซ่อนอยู่ด้านบนหรือด้านล่างของหน้าจอ
  แถบสถานะ (Status Bar : ซเททัซบาร์)
เป็นแถบที่อยู่เหนือปุ่ม Start ใช้บอกเลขหน้า เลขส่วน เลขหน้าต่อจำนวนหน้าทั้งหมด บรรทัด คอลัมน์ และภาษาที่ใช้
ในการทำงานขณะนั้น ดังนี้
·         เลขหน้า  บอกให้รู้ว่าตำแหน่งการพิมพ์อยู่ที่หน้าใด
·         เลขตอน  บอกให้รู้ว่าตำแหน่งการพิมพ์อยู่ที่ตอนใดของเอกสาร
·         เลขหน้า/จำนวนหน้า  บอกให้รู้ว่าตำแหน่งการพิมพ์อยู่ที่หน้าใดของจำนวนหน้าทั้งหมด
·         ตำแหน่งการพิมพ์  บอกให้รู้ว่าการพิมพ์อยู่ที่ตำแหน่งใดจากส่วนบนของเอกสาร
·         บรรทัด  บอกให้รู้ว่าตำแหน่งการพิมพ์อยู่ที่บรรทัดใด
·         คอลัมน์  บอกให้รู้ว่าตำแหน่งการพิมพ์อยู่ที่คอลัมน์ใด
·         ภาษา  บอกให้รู้ว่ากำลังทำงานด้วยภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ  
  มินิไมซ์ (Minimize : มินิไมซ์) 
เป็นปุ่มแรกสุด อยู่ที่มุมขวาบนของหน้าจอ ใช้สำหรับย่อขนาดของหน้าต่างให้หายไปจากจอภาพ ให้เป็นแถบเล็ก ๆ
บนทาสก์บาร์ (แถบที่มีปุ่ม
Start)
  รีสโตร์ ดาวน์ (Restore Down : รีสโตร์ ดาวน์)
เป็นปุ่มที่สอง อยู่ที่มุมขวาบนของหน้าจอ ใช้สำหรับย่อหน้าต่างให้มีขนาดเท่าเดิม (ก่อนขยาย)
  ปิด (Close : คโลส)
เป็นปุ่มสีแดง อยู่ที่มุมขวาบนของหน้าจอ ใช้สำหรับปิดโปรแกรม

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบทดสอบก่อนสอบปลายภาค

1. หน้าที่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในระบบเครือข่ายแบ่งตามลักษณะสำคัญได้ 2 ประเภทประเภทที่มีสิทธิเท่าเทียมกันเรียกว่าอย่างไร
2. อะไรต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3. ระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร
4. การเขียนFlowchart ที่งานที่สุดในทั้ง 3รุปแบบแล้วแบบที่เรียกว่า Loop Structureแล้วแยกได้อีก2แบบแบบไหนที่ต้องดูเงื่อนไขก่อนแล้วจึงดำเนินการ
5. การเขียนFlowchart ที่งานที่สุดในทั้ง 3รุปแบบแล้วแบบที่เรียกว่า Loop Structureแล้วแยกได้อีก2แบบแบบไหนที่ต้องดูคำสั่งก่อนแล้วจึงดำเนินการตามเงื่อนไข
6. LAN เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันอย่าง
7. ข้อใดคือเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย
8. อินเตอร์เน็ทมีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใดในโลก
9. การใช้คอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกลเรานิยมเรียกว่าอย่างไรธ
10. หลักเกณฑ์ทั่วไปของการเขียนผังานต้องเริ่มต้นด้วยการทำงานแบบใดการ
11. ข้อใดไม่ได้จัดอยู่ในชนิดของFirewallที่นักเรียนศึกษา
12. การทำงานของFlowchart แบ่งเป็นสองประเภทคืออะไรบ้าง
13. การ์ดแลนคืออุปกรณ์ที่ใช้ทำหน้าที่อะไร
14. เครือข่ายอินเตอร์เน็ทเป็นคำผสมระหว่างคำว่าIntercomnectiondy
15. การเขียนFlowchart ที่งานที่สุดในทั้ง 3รุปแบบคือแบบใด
16. ข้อจำกัดข้องการเขียนผังงานคือข้อใด
17. หน่วยมาตราฐานที่รวบรวมและกำหนอมาตราฐานสัญลักษณ์ของการเขียน Flowchart คือที่ใด
18. สื่อกลางในการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์คือข้อใด
19. ข้อใดคือความสำคัญของระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด
20. หน่วยมาตราฐานที่รวบรวมและกำหนอมาตราฐานสัญลักษณ์ของการเขียนFlowchartคือที่ใด
21. การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกันบนระบบเครือข่ายเราเรียกว่าอย่างไร
22. ผังงานคืออะไร
23. IP address ในระบบเครือข่ายมีความสำคัญอย่างไร
24. การเขียนแผนผังที่ถูต้องควมีลักษณะการเขียนอย่างไร
25. WAN เป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันอย่างไร
26. Proxy Server คืออะไร
27. คำว่า จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เรียกอีกอย่างว่าอะไร?
28. File ข้อมูลนามสกุล .doc สามารถเปิดดูจากโปรแกรมใดได้
29. โปรแกรมปฎิบัติการที่นิยมใช้ในการทำระบบเครือข่ายคือโปรแกรมใด
30. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ได้เป็นการเข้าโจมตีเครือข่าย

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สอบซ่อมกลางภาค

ซ่อมกลางภาค

คำถามบทที่1
1)อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญมีอะไรบ้าง?
ตอบ 1.1กล่องซีพียู 1.2แป้นพิมพ์ 1.3เมาส์ 1.4จอภาพ 1.5ลำโพง

2)ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบ4ประการได้แก่?
ตอบ 2.1ฮาร์ดแวร์ 2.2ซแฟแวร์ 2.3พีเพิลแวร์ 2.4ข้อมูล

3)ประเภทคอมพิวเตอร์แบ่งได้กี่แบบ?
ตอบ 3.1แบ่งตามขนาด 3.2แบ่งตามลักาณะข้อมูล 3.3แบ่งตามวัสถุประสงค์การใช้

4)แบ่งตามขนาดคือ?
ตอบ แบ่งตามความสามารถในการทำงานของคอมพิวเตอร์

5)แบ่งตามลักษณะข้อมูลคือ?
ตอบ การแบ่งประเภทข้อมูลที่รับเข้าสู่การประมวลผลคอมพิวเตอร์

6)แบ่งตามวัสถุประสงค์การใช้คือ?
ตอบ การแบ่งประเภทคอมพิวเตอร์ตามวัสถุประสงค์ที่สรางขึ้นมาและการนำมาประยุกย์ใช้

7)แบ่งตามขนาดแบ่ง4ประเภทคือ?
ตอบ 7.1ไมดครคอมพิวเตอร์ 7.2มินิคอมพิวเตอร์ 7.3เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 7.4ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์

8)แบ่งตามลักษระข้อมูลแบ่งได้3ประเภทคือ?
ตอบ 8.1อนาลอกคอมพิวเตอร์ 8.2ดิจิตอลคอมพิวเตอร์ 8.3ไฮบริคคอมพิวเตอร์

9)ไมโครคอมพิวเตอร์คืออะไร
ตอบ คอมพิวเตอร์พกพาหรือ notebook

10)มินิคอมพิวเตอร์ คืออะไร
ตอบ คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีความเร็วในการประมวลผล

คำถามบทที่2
1)การทำงานคอมพิวเตอร์เริ่มจากอะไร
ตอบ เริ่มจากการป้อนข้อมูล เข้าทางหน่วยป้อนข้อมูล

2)input unit คืออะไร
ตอบ หน่วยรับข้อมูล

3)หน่วยประมวลผลข้อมูลคือ
ตอบ CPU

4)Memory unit คืออะไร
ตอบ หน่วยความจำ

5)Output unit คืออะไร
ตอบ หน่วยแสดงผล

6)ขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์มีกี่ขั้นตอน?
ตอบ 3ขั้นตอน

7)ขั้นตอนของคอมพิวเตอร์มี3ขั้นตอนอะไรบ้าง?
ตอบ รับข้อมูล ประมวลผลข้อมูล แสดงผลข้อมูล

8)processคืออะไร
ตอบ การประมวลผลข้อมูล

9)การแสดงผลข้อมูลมีอุกรณ์ต่อพ่วงอะไรบ้าง
ตอบ จอภาพ monitor

10)คีย์บอร์ดมีหน้าที่อะไร
ตอบ ป้อนข้อมูล

คำถามบทที่3
1)DOS คืออะไร
ตอบ ระบบปฎิบัติการ

2)คอมพิวเตอร์ทำงานเป็นอะไร?
ตอบ ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อกับฮาร์ดแวร์ของเครื่องโดยตรง

3)โปรแกรมไอไอเอส (IIS) เป็นโปรแกรมที่อยู่บนระบบปฏิบัติการในข้อใด
ตอบ ได้ทุกระบบปฎิบัติการ

4)เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการสำหรับเก็บเอกสารเว็บเพจและนำเสนอข้อมูลเอกสารเว็บเพจมีชื่อเรียกว่าอะไร
ตอบ เว็บเซอร์เวอร์

5) โปรแกรมไอไอเอส (IIS)ทำหน้าที่?
ตอบ ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการ โปรแกรมใดที่ต้องทำการติดตั้งเพิ่มเติมสำหรับให้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นให้บริการทางด้านเครื่องเว็บเซอร์

6)แฟ้มข้อมูลในข้อใดไม่นิยมใช้เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลหน้าแรกของเว็บไซต์?
ตอบ None.html
7)เว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีทางด้านให้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลมีชื่อเรียกคืออะไร?
ตอบ Free Web Hosting
8)เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นเว็บเซอร์เวอร์เรียบร้อยแล้ว หากต้องการทดสอบว่าใช้งานได้หรือไม่จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น จะต้องใช้ URL ?
ตอบ http: / / localhost
9)ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเว็บไซต์ที่ให้บริการทางด้านพื้นที่สำหรับการเก็บคืออะไร?
ตอบ มีการบริการให้คำแนะนำและช่วยเหลือปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆ เป็นอย่างดี

10)  ประเภทของระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงานมีกี่ประเภท?
ตอบ 3ประเภท

คำถามบทที่4
1)หน้าต่างwindowsมีชื่อเรียกส่วนประกอบต่างๆคือ
ตอบ เดสก์ท็อป ไอคอน ถังขยะ ทาสก์บาร์ ซิสเต็มเทรย์ ทูลสทิป ปุ่มสตาร์ท

2)เดสก์ท็อปคืออะไร
ตอบ พื้นที่หน้าจอเมื่อเริ่มต้นเข้าสู่โปรเเกรม

3)ไอคอนคืออะไร
ตอบ สัญลักษณ์หรือรูปที่ใช้แทนโปรแกรม

4)ถังขยะคืออะไร
ตอบ โฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ที่เราทิ้ง

5)ทาสก์บาร์คืออะไร
ตอบ แถบงาน

6)ซิสเต็ม เทรย์ คืออะไร
ตอบ ใช้แสดงเวลา

7)ทูลสทิป คืออะไร
ตอบ เมื่อเราเลื่อนเมาส์ไปยังไอคอนใดมันจะขึ้นกรอบสีเหลืองนั้นเรียกว่าทูลสทิป

8)ปุ่มสตาร์ท คืออะไร
ตอบ จุดเริ่มต้นของโปรแกรมต่างๆ

9)สกรีนเซฟเวอร์ คืออะไร
ตอบ เป็นโปรแกรมสำหรับพักหน้าจอ

10)การออกจากWINDOWS คือ
ตอบ การ Restart หรือ stand By

คำถามบทที่5
1)Change the name คืออะไร
ตอบ เปลี่ยนชื่อผู้ใช้

2)Chang the passwordคืออะไร
ตอบ เปลี่ยนรหัสผุ้ใช้

3)Remove the password คืออะไร
ตอบ ย้ายหรือลบรหัสผู้ใช้

4)Change the picture คืออะไร
ตอบ เปลี่ยนภาพผู้ใช้

5)Change the account type คืออะไร
ตอบ เปลี่ยนชนิดของผู้ใช้

6)Delete the account คืออะไร
ตอบ ลบผู้ใช้

7)ผู้ใช้ในระดับใดที่สามารถ Log On  เข้าไปสร้าง User Account ได้
ตอบ Adminstrator
8)ผู้ใช้ในระดับใดสามารถเปิดและปิดการใช้งานผู้ระดับ Guest ได้
ตอบ Administrator
9)ข้อใดถูกต้อง 
ตอบ Guest เปิดการใช้งานตัว้องได้
10)ข้อความที่ปรากฎว่า " Do you want to keep you's files ? " เป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนใด
ตอบ การลบผู้ใช้
คำถามบทที่6
1.คำสั่งใดที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ โฟลเดอร์
ตอบ Rename
2.คำสั่งใดที่ใช้ในการลบไฟล์หรือโฟลเดอร์
ตอบ Delete
3.การจัดเรียงไฟล์และโฟลเดอร์แบบ Show in Group  เป็นการจัดเรียงแบบใด
ตอบ เรียงตามกลุ่มตัวอักษรแรกของชื่อ
4.การจัดเรียงไฟล์และโฟลเอดร์แบบ Size เป็นการจัดเรียงแบบใด
ตอบ เรียงตามขนาดความจุของไฟล์หรือโฟลเดอร์
5.เมื่อไฟล์หรือฟลเดอร์ถูกลบทิ้งจะย้ายไปอยู่ที่ใด
ตอบ ถังขยะ
6.ข้อใดถูกต้อง
ตอบ ไฟล์ที่อยู่ในถังยะสามารถกู้คืนได้
7.การเรียกดูคุณสมบัติของโฟลเดอร์ใช้คำสั่งใด
ตอบ Search
8.Read-only คือคุรสมบัติแบบใดของโฟลเดอร์
ตอบ ไม่มีข้อใดถูก
9.Hidden คือคุณสมบัติแบบใดของโฟลเดอร์
ตอบ เขียนโฟลเดอร์นี้ได้
10.การค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์ใช้โปรแกรม
ตอบ Help and Support